ชื่อพรรณไม้ : หมากเหลือง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Yellow palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysalidocarpus lutescens.
ชื่อวงษ์ : Palmae (Arecaceae)
ลักษณะวิสัย : ไม้ปาล์ม
ลักษณะเด่นของพืช :
ลำต้น หมากเหลือง มีลำต้นเพรา ทรงกลม และตั้งตรง ลำต้นแตกหน่อเป็นกอใหม่รอบต้นแม่ เมื่อโตเต็มที่จะสูงได้ถึง 8 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 4-8 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อหรือเป็นวงชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ โคนลำต้นมีสีเหลืองส้มหรือเขียวอมเหลือง ลำต้นส่วนปลายมีนวลสีขาวปกคลุม ใบ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก กาบใบหุ้มลำต้น มีสีเหลืองอมส้ม เรียงเยื้องกันตามความสูง ใบมีทางใบยาว 1.5-2 เมตร ทางใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวอมเหลือง บนทางใบมีใบย่อยเรียงเยื้องสลับกันเป็นแถว ใบย่อยมีลักษณะเรียวยาว โคนใบสอบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม คล้ายใบมะพร้าว กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีสีเขียวอมเหลือง
การนำมาใช้ประโยชน์ :
หมากเหลืองนิยมปลูกทั้งในแปลงจัดสวน การด้านภูมิทัศน์ และการปลูกในกระถางเพื่อเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีทรงพุ่มสวยงาม ทางใบยาว โค้งย้อยลงดิน แผ่นใบมีสีเหลืองอมเขียวสวยงาม ทั้งนี้ การปลูกในกระถาง ควรวางกระถางในพื้นที่ร่มหรือมีแสงแดดไม่ส่องทั้งวันหรือมีแสงรำไร อาทิ การวางกระถางภายในบ้าน หน้าบ้านที่มีร่ม หรือวางไว้ข้างบ้านที่มีร่มในบางครั้ง เพราะการปลูกในกระถางจะสูญเสียความชื้นได้ง่ายกว่าการปลูกลงแปลง
สรรพคุณ :
ผลอ่อน มีรสฝาด มีสรรพคุณต่างๆ ได้แก่ – ช่วยเจริญอาหาร – ช่วยขับเสมหะ – แก้อาการเมา วิงเวียนศรีษะ – แก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน – ช่วยบรรเทาอาการไอ – ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
โทษของต้นไม้ :