ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) เป็นหลักแต่มีกรอบแนวคิดที่ประยุกต์ให้เข้ากับการพัฒนาของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งการจัดการศึกษาของแต่ละช่วงชั้นมีความแตกต่างกันตามวัยและพัฒนาการของผู้เรียน กล่าวคือ ในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓) เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism) สามารถตอบสนองต่อความสามารถของผู้เรียนซึ่งมีหลายด้าน เช่น ภาษาทั้งด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน คณิตศาสตร์ การมองพื้นที่ ความคล่องของร่างกาย และความเคลื่อนไหวดนตรี สังคมหรือมนุษย์สัมพันธ์และความรู้และความเข้าใจตนเอง ซึ่งรวมเรียกว่า “พหุปัญญา” (Multiple Intelligences) สนองตอบต่อความสามารถที่จะแสดงออกและตอบสนองทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และทักษะพื้นฐาน (Skill Based) ได้แก่การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ร่วมกัน ทักษะการสื่อสาร และมีปฏิสัมพันธ์ ทั้งหมดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในส่วนของระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖) และมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓) เน้นให้นักเรียนค้นพบตนเอง มีความพร้อมตามทักษะที่ต้องการของคนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยพัฒนาต่อเนื่องจากหลักสูตรประถมศึกษาตอนต้น โดยยึดเอาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นตัวตั้งใช้เวลาและวิธีการยืดหยุ่นตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีิวิจารณญาณและ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving Skills) ทักษะการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity & innovation Skills) ทักษะความเข้าใจด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cross cultural Understanding Skills) ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership Skills) ทักษะการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy Skills) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Computing and ICT Literacy Skills) ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และมีคุณธรรมจริยธรรม (Compassion) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning) และ STEAM Education ในการแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้