Open

Mon - Fri : 07.30 am - 04.30 pm.

Sat : 08.30 am - 02.30 pm.

Contract

Tel : 0-3827-6890-4

80/90 Village No. 3, Samet, Mueang, Chonburi 20000

Contract

Tel : 0-3827-6890-4

Open

Mon - Fri : 07.30 am - 04.30 pm.

หางนกยูงไทย

ชื่อพรรณไม้ : หางนกยูงไทย

ชื่อภาษาอังกฤษ : Leguminosae - Caesalpinioideae.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia pulcherrima (L.)

ชื่อวงษ์ : r fence, Peacock's crest, Pride of Barbados.

ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่มเตี้ย

ลักษณะเด่นของพืช :

 ไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง สูง 3-5 เมตร ทรงพุ่มกลม ต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ช่อใบย่อยมีใบย่อย 7-11 คู่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้า โคนเบี้ยว ดอก มีหลายสีตามพันธุ์ ได้แก่ เหลือง แดง ส้ม ชมพูแก่ แดงประขาว ดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรตัวผู้ 10 อัน ออกดอกตลอดปี ผล เป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกได้ ออกฝักตลอดปี เมล็ด  8-10 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลม

การนำมาใช้ประโยชน์ :

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทางด้านสมุนไพร รากของต้นดอกสีแดง ปรุงเป็นยารับประทานขับประจำเดือน  เมล็ดในฝักรับประทานได้โดยแกะเปลือกกับเมล็ดซึ่งมีรสฝาดทิ้งไป เนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย

สรรพคุณ :

ดอกหางนกยูงสีเหลืองสามารถนำมาต้มกับน้ำ แล้วใช้อมเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันได้ (ดอกของต้นดอกเหลือง) รากมีรสเฝื่อน นำมาต้มหรือฝนกินเป็นยาแก้วัณโรคในระยะที่สาม (การนำมาใช้เป็นยาโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต้นที่มีดอกสีแดง) (รากของต้นดอกแดง) เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด) รากใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (รากของต้นดอกแดง) รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บวม (ราก)

โทษของต้นไม้ :