Open

Mon - Fri : 07.30 am - 04.30 pm.

Sat : 08.30 am - 02.30 pm.

Contract

Tel : 0-3827-6890-4

80/90 Village No. 3, Samet, Mueang, Chonburi 20000

Contract

Tel : 0-3827-6890-4

Open

Mon - Fri : 07.30 am - 04.30 pm.

ต้นสาละ

ชื่อพรรณไม้ : ต้นสาละ

ชื่อภาษาอังกฤษ : Sal, Shal, Sakhuwan, Sal Tree, Sal of India, Religiosa

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea robusta  Roxb.

ชื่อวงษ์ : Lecythidaceae

ลักษณะวิสัย : ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ 

ลักษณะเด่นของพืช :

ปลือกต้นสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5 – 8 เซนติเมตร ยาว 12 – 25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ดอก: ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว ปลายช่อดอกโน้มลง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 5 – 10 เซนติเมตร กลีบดอกหนา 4 – 6 กลีบ สีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู ทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ เกสรเพศผู้อยู่กลางดอก โคนติดกัน ปลายแยกเป็นเส้นโค้งจำนวนมาก สีชมพูแกมเหลือง ออกดอกเกือบตลอดปี ผล: ผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 – 20 เซนติเมตร เปลือกแข็งสีน้ำตาล เมล็ดจำนวนมาก

การนำมาใช้ประโยชน์ :

สาละเป็นไม้เนื้อแข็งที่สำคัญในอินเดีย เมื่อตัดครั้งแรกสีอ่อนและสีจะเข้มขึ้นเมื่อสัมผัสกับอากาศ เนื้อไม้มีเรซินและทนทาน เหมาะกับการทำกรอบประตูและหน้าต่าง ใบแห้งของสาละใช้ทำจานใบไม้และชามใบไม้ทางเหนือและตะวันออกของอินเดีย ซึ่งหลังจากใช้งานจะกลายเป็นอาหารของแพะ ใบสดใช้กินกับหมาก และของว่าง ในเนปาล ใช้ใบไปทำเป็นจานและชามเช่นกัน

สรรพคุณ :

ไม่มี

โทษของต้นไม้ :